วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

การอ่านแบบ Scanning

Scanning คือการอ่านอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับ Skimming แต่ต่างกันตรงที่ Scan เป็นการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อหาข้อมูลบางอย่างที่ต้องการ วิธี Scan มีประโยชน์มากในการอ่าน เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการภายในเวลารวดเร็ว เช่น ในเวลาอ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักเรียนอาจต้องหาเพียง ชื่อ วันที่ สถิติ หรือข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น นักเรียนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ่านเรื่องทั้งหมด เพียงแต่กวาดสายตาอย่างรวดเร็ว ทีละ 2 – 3 บรรทัด เพื่อหาสิ่งที่นักเรียนต้องการ แต่ที่สำคัญคือ นักเรียนจะต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังหาอะไร ในใจนักเรียน จะต้องกำหนดสิ่งนั้นอย่างชัดเจน เพื่อที่เวลานักเรียนอ่านนักเรียนอ่าน นักเรียนจะรู้สึกว่า มองหาสิ่งที่ต้องการปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด 


ขั้นตอนง่ายๆในการอ่านด้วยวิธี Scanning มีดังนี้
       1.  อ่านคำถามเกี่ยวกับข้อความนั้น ๆ ก่อนเพื่อประหยัดเวลา และช่วยในการหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น
       2.  อ่านข้อความ หรือ scan ย่อหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อพบข้อความเกี่ยวกับคำตอบแล้ว ให้อ่านช้าลงและรอบคอบระมัดระวัง และพยายามหาคำและกลุ่มคำที่สำคัญ (Key words and phrases) ที่จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง
       3.  หากเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choices) ให้ตัดคำตอบที่ผิดออกและเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่เหลืออยู่


แบบฝึกหัดการอ่านแบบข้าม (Scanning)
E-Education begins
                RANGOON – Burma launched an ambitious e–education program over the weekend with the opening of 203 electronic learning centers in all states and divisions nationwide, official media reports said recently.
            The “Electronic Data Broadcasting System” we officially inaugurated recently by the Ministry of Education and Ministry of Information, said the state run New Light of Myanmar newspaper.
            Under the program, students will have access to lectures on “academic subjects and technology subjects” at special learning centers via computer, satellite links and television.
 1. Where in  Burma inaugurated e-education program?
            a. Myanmar            b. Rangoon
            c. all the states       d. centre of Burma
2. When did e-education program open?
            a. everyday            b. every week
            c. every month       d. only weekend
 3. Which subjects do the students have on this program?
            a. technology and academic subjects     b. academic subjects and electronic
            c. technology and science subject          d. Mathematics and English
4. Ms. Chantana: Can I study the English subject via television?
    The students: ........................................................
   a. Yes, I can.   b. No, I can’t.
   c. Yes, you can.  d. No, you can’t
เฉลยแบบฝึกหัด:
1. b.  คำแรกของประโยคแรกในเรื่อง บอกชัดเจนว่า  RANGOON (เมืองย่างกุ้ง) ของประเทศพม่า เป็นสถานที่ที่ใช้เริ่มโปรแกรมการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเป็นทางการ
2. d. over the weekend ในย่อหน้าแรก เป็นคีย์เวิร์ด สำคัญนำไปสู่คำตอบที่ว่าโปรแกรมการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้บริการในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ และอาทิตย์) เท่านั้น
3. a. technology and academic subject เทคโนโลยี และวิชาการ เป็นสองวิชา ที่นักเรียนจะได้เรียนในโปรแกรมนี้ 
4. c. television คีย์เวิร์ด ในย่อหน้าสุดท้าย และคำสุดท้ายของเรื่อง ช่วยให้ได้คำตอบว่านักเรียนสามารถเรียนภาษาอังกฤษ ผ่านโทรทัศน์ได้

+++++++++++ทดลองทำกันแล้วทำกันได้บ้างหรือเปล่าคะ+++++++++++++

Writing an informal letter

นี่เป็นวลี และแบบแผนซึ่งคุณจะพบว่ามีประโยชน์ในเวลาเขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ

Writing an informal letter – การเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ
เริ่มต้นจดหมายของคุณโดยใช้คำว่า Dear ต่อด้วยชื่อของบุคคลซึ่งคุณเขียนถึง ตัวอย่างเช่น :
Dear Mark,
Dear Mark,
Dear Jane,
Dear Jane,

นี่เป็นบางสิ่งที่คุณควรรู้
Thanks for your ...
ขอบคุณสำหรับ ... ของคุณ
letter
จดหมาย
postcard
โปสการ์ด
present
ของขวัญ
invitation
คำเชิญ

Sorry it's taken me so long to write.
ขอโทษที่ใช้เวลานานในการเขียน
I hope you're well.
ฉันหวังว่าคุณจะสบายดี
Good to see you again last week.
ดีที่ได้พบคุณอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
Look forward to seeing you soon!
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบคุณเร็วๆ นี้!



นี่เป็นตัวอย่างการลงท้ายจดหมายแบบไม่เป็นทางการ
Best wishes,
ด้วยความปรารถนาดี
Kind regards,
ด้วยความระลึกถึง

ถ้าเขียนถึงสมาชิกในครอบครัว, คู่หู หรือเพื่อนสนิท คุณสามารถลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้ :
Love,
รัก,
 ลงท้ายด้วยการเขียนชื่อของคุณ

หลักการเติม ingใน Present Continuous Tense

หลักการเติม ing ที่ท้ายคำกริยาใน Present Continuous Tense มีหลักการสำคัญๆดังนี้
โดยปกติแล้ว กริยาทั่วๆไป เติม ing ได้เลย ยกเว้นบางคำเท่านั้น

       sleep >> sleeping  นอนหลับ
        eat >> eating กิน
        drink >> drinking ดื่ม
         go >> going ไป
         fly >> flying บิน
1. กริยาที่มีสระเสียงสั้นตัวเดียว  (เสียง อะ อิ อุ โอะ เอาะ เป็นต้น) ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัว แล้วเติม ing
         sit >> sitting นั่ง
         run >> running วิ่ง
        swim >> swimming ว่ายน้ำ
         cut >> cutting ตัด
         get >> getting ได้รับ
         put >> putting วาง
       stop >> stopping หยุด
2. กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ทิ้ง แล้วเติม ing
        ride >> riding ขี่
        drive >> driving ขับ
        give >> giving ให้
         come >> coming มา
        make >> making ทำ
        take >> taking เอา
        write >> writing เขียน
        dance >> dancing เต้นรำ
 (ยกเว้นลงท้ายด้วย ee ห้ามตัด เช่น see >> seeing)
3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing
        die >> dying ตาย
        lie >> lying นอน
        tie >> tying มัด
4. (สำหรับคนที่เก่งขึ้นมาหน่อย) กริยาที่มีสองพยางค์ขึ้นไป ถ้า stress พยางค์หลัง  ให้เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัว แล้วเติม ing แต่ถ้า stress พยางค์หน้า ไม่ต้องเติมตัวสะกด
stress พยางค์หน้า
         visit >> visiting
       deliver >> delivering
Stress พยางค์หลัง
        admit >> admitting
        refer >> referring
ยกตัวอย่างให้ดูคร่าวๆแล้วกัน ค่อยๆสังเกตไปเรื่อยๆนะคะ แต่หลักที่สำคัญก็มีเท่านี้แหละ